วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

การดัดฟันด้านนอกด้วยเซรามิก



การดัดฟันด้านนอกด้วยเซรามิก
เป็นการดัดฟันที่มักเห็นได้ตามทั่วไปอีกแบบหนึ่ง แต่อาจไม่เป็นที่นิยมมากนัก จะพบได้ในกลุ่มคนไข้ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือผู้ที่ต้องการการจัดฟันแบบ ไม่เห็นเป็นที่ชัดเจนมากนัก โดยใช้วิธีการติดเครื่องมือแบบเซรามิก ซึ่งมีสีใกล้เคืองผิวฟันไว้ที่ผิวฟันด้านหน้า แล้วใส่ลวดผ่านร่องเครื่องมือและใช้ยางสีใสรัดเข้ากับเครื่องมือ ข้อดี เครื่องมือจัดฟันประเภทนี้ออกแบบมาเป็นพิเศษที่ให้สีและความใสใกล้เคียงสีฟันมากที่สุด เหมาะกับผู้ที่ต้องการจัดฟันแต่ไม่อยากให้เห็นและสังเกตเป็นที่เด่นชัดเจน  และเนื่องจากเป็นการติดตั้งเครื่องมือด้านนอก จึงทำให้การดูแลรักษาเครื่องมือทำได้ง่ายกว่า รวมถึงค่าใช้จ่ายของการรักษาแบบนี้จะมีราคาสูงกว่าการจัดฟันแบบโลหะ แต่เนื่องจากวัสดุแบบเซรามิคที่นำมาใช้นั้นเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ติดกับฟันและอยู่ในปากนานกว่าเครื่องมือแบบโลหะ และรวมถึงจำนวนการใช้งานก็ไม่มากเท่าแบบโลหะ ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงสูงกว่า แต่เมื่อเทียบกับความเหมาะสมกับคนที่ต้องการจัดฟันแบบนี้ ถือว่าไม่แพงจนเกินไป ข้อควรระวัง เครื่องมือจัดฟันแบบเซรามิคถึงแม้ว่าจะมีความแข็งแรงและผิวที่เรียบมันวาว แต่ก็ยังน้อยกว่าแบบโลหะ จึงทำให้ต้องดูแลระมัดระวังและรักษาเครื่องมือเป็นพิเศษ  ควรดูแลเครื่องมือตามคำแนะนำ และพบทันตแพทย์ตามกำหนด เพื่อผลสำเร็จของการรักษา ตามกำหนด และหากเกิดความผิดปกติของเครื่องมือภายในช่องปาก ให้พบหรือปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการผิดปกติเหล่านั้น วิธีการรักษา ใช้หลักการการจัดฟันโดยอาศัยแรงยึดดึง ทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปตำแหน่งที่กำหนดโดยแพทย์ จะเป็นผู้กำหนดทิศทางการจัดฟัน นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่สามารถถอดเครื่องมือเองได้ ดังนั้นจึงต้องมาพบแพทย์เป็นประจำ ตามกำหนดเพื่อทำการเปลี่ยนเครื่องมือ ระยะเวลาในการรักษา 
โดยปกติแล้ว จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-5 ปี ในการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาทางด้านสุขภาพฟันและโครงสร้างฟันของแต่ละคน ดังนั้นระยะเวลาจึงอาจไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดและดูแลเรื่องนี้ ค่าใช้จ่ายการจัดฟันด้านนอกนี้  มีค่าใช้จ่ายในการรักษา ประมาณ 60,000 – 90,000 บาท และค่าเครื่องมือพิเศษ 15,000 บาท (จ่ายเพิ่มจากค่ารักษา) ขึ้นอยู่กับปัญหาทางด้านสุขภาพฟัน และโครงสร้างฟันว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดและประเมินสภาพฟันอีกครั้งหลังจากการตรวจ